ตราสัญลักษณ์จังหวัดสมุทรสาคร
ลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดสมุทรสาคร มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1.00 - 2.00 เมตร มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านตอนกลางจังหวัด ไหลคดเคี้ยวตามแนวเหนือใต้ลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร ระยะทางยาวประมาณ 70 กิโลเมตร พื้นที่ตอนบนในเขตอำเภอบ้านแพ้วและอำเภอกระทุ่มแบนมีความอุดมสมบูรณ์ของดินและมีโครงข่ายแม่น้ำลำคลองเชื่อมโยงถึงกันกระจายอยู่ทั่วพื้นที่กว่า 170 สาย จึงเหมาะที่จะทำการเพาะปลูกพืชนานาชนิด และบางส่วนเป็นย่านธุรกิจ อุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย พื้นที่ตอนล่างของจังหวัดในเขตอำเภอเมืองสมุทรสาครอยู่ติดชายฝั่งทะเลยาว 41.8 กิโลเมตร จึงเหมาะที่จะประกอบอาชีพประมงทะเล เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและทำนาเกลือ ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดสมุทรสาคร มีลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบฝนเมืองร้อน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมบก ลมทะเล และมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน ในช่วงฤดูร้อน จึงทำให้มีความชื้นในอากาศสูง มีฝนตกปานกลาง ปริมาณเฉลี่ย 1,120 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 26-28 องศาเซลเซียส มีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุด 50 สูงสุด 95 จังหวัดสมุทรสาครแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบน อำเภอบ้านแพ้ว
ประวัติความเป็นมาของ...ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร เจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร หรือเจ้าพ่อวิเชียรโชติ แกะสลักด้วยไม้โพธิ์ มีลักษณะคล้ายองค์พระสยามเทวาธิราช อยู่ในท่าประทับมือบนเกี้ยว ซึ่งแกะสลักลวดลายงดงามวิจิตร และปิดทองคำเปลวบริสุทธิ์ทับไปอีกชั้นหนึ่ง มีความสูงประมาณ ๑ ศอกเศษประดิษฐานอยู่ในศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร เป็นที่เคารพสักการะของชาวสมุทรสาครและจังหวัดใกล้เคียง เปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของประชาชน โดยเฉพาะชาวประมงและคนไทยเชื้อสายจีน จะมีความเชื้อถือศรัทธามาก ก่อนออกเรือหาปลาทุกครั้งจะต้องมีการจุดประทัดเป็นการเซ่นไหว้สักการะทุกครั้ง กล่าวกันว่าในสมัยนั้นมีการพบแผ่นไม้แกะสลักคล้ายเทวรักษ์ลอยน้ำมาขึ้นที่คลองลัดป้อมใกล้กับป้อมวิเชียรโชฎกไม่ไกลจากที่ตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาครในปัจจุบันมากนัก ชาวบ้านจึงอันเชิญไปประดิษฐานไว้บนตลิ่ง จากนั้นจึงสร้างเพิงหลังคามุงจากหลังเล็กๆ ให้ผู้คนที่ผ่านไปมาทั้งทางน้ำและทางบกได้สักการะบูชา เมื่อมีผู้มาบูชาบนบานสาลกล่าว ปรากฏว่ามีหลายคนประสพความสำเร็จสมหวังจนเป็นที่เลื่องลือของชาวบ้าน ต่อมาได้พร้อมใจกันสร้างศาลเจ้าขนาดใหญ่ขึ้นตรงบริเวณกำลังเมืองเก่า ซึ่งใช้เป็นป้อมปราการริมน้ำในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยป้อมแห่งนี้มีพระวิเชียรโชตินายทหารใหญ่เจ้าเมืองสาครบุรีเป็นผู้ปกครอง และบังคับบัญชาป้อม ต่อมาเมื่อท่านเจ้าเมืองเสียชีวิต ชาวบ้านเล่าว่าวิญญาณของท่านมาสถิต ณ ศาลตรงป้อมปราการแห่งนี้ด้วย ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร มีชื่อเดิมที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า "ศาลเทพเจ้าจอมเมือง ตั้งอยู่บริเวณต้นศรีมหาโพธิ์ ด้านหลังที่ว่าการอำเภอเมืองหลังเก่า ภายในบริเวณป้อมวิเชียรโชฎก ในปัจจุบันศาลเจ้าหลังดังกล่าวไม่ปรากฏร่องรอยเหลืออยู่แล้ว การเริ่มสร้างศาลหลักเมืองสมุทรสาคร แทนศาลเดิมได้เกิดขึ้นประมาณ พ.ศ.๒๔๖๐-๒๔๖๑ โดยพระยาสาครคณาถิรักษ์ เจ้าเมืองสมุทรสาคร หลวงอนุรักษ์นผดุงนายอำเภอเมืองสมุทรสาคร และขุนสมุทรมณีรัตน์ กำนันตำบลท่าฉลอม ได้ดำเนินการบอกบุญขอบริภาคจากเช้าสมุทรสาคร ผู้มีจิตศรัทธา จนสามารถรวบรวมเงินทุนสร้างศาลขึ้นมาใหม่ ตามแบบที่ขอมาจากกรมศิลปกร แต่การก่อสร้างศาลครั้งนั้นไม่สำเร็จสมบูรณ์ ยังขาดช่อฟ้า ใบระกา เนื่องจากเงินทุนที่ประชาชนบริจาคไม่เพียงพอ ดังนั้น อีกสองปีต่อมา ขุนสมุทรมณีรัตน์ ขุนเชิดมหาชัย และนายยงกุ่ย หทัยธรรมทั้งสามท่านจึงร่วมกันออกเงินส่วนที่เหลือจนสร้างศาลเสร็จเรียบร้อยเมื่อการก่อสร้างศาลเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทางราชการให้ขุนสมุทรมณีรัตน์เป็นประธาน ประกอบด้วยกรรมการจากฝ่ายราชการ พ่อค้า คหบดี ใน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร
ป้อมวิเชียรโชฎก ตามรอยอดีต (พยุง ผ่องสุขสวัสดิ) ป้อมวิเชียรโชฎก ณ ศกนี้ ย้อนอดีตอีกทีจะดีไหม มีที่มาที่เห็นเป็นอย่างไร หากสนใจอ่านต่อขอเชิญชวน ท่านผู้รู้หรือกูรูในปัจจุบันกล่าวไว้ว่า ถ้าจะดูปัจจุบันให้ย้อนกลับไปดูอดีต ด้วยอดีตเป็นแม่บทแห่งปัจจุบันร่องรอยแห่งอดีตสืบมาจนถึงปัจจุบันเป็นประจักรพยานสำคัญที่มิอาจภาคเสธได้ สมดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันที่ตรัสไว้ว่า "อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่า ควรจะช่วยกันรักษาไว้ และกล่าวถึงทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่ปราสาทเขาพนมรุ้งว่า "โบราณสถาน โบราณวัตถุ เป็นเกียรติของประเทศชาติ" การรักษาวัฒนธรรมคือการรักษาชาติ และการรักษามรดกไทยเป็นการรักษาชาติ ก่อนอื่นใคร่ขอทราบว่า ท่านเป็นคนถิ่นนี้หรือป่าว ท่านเป็นคนมหาชัยใช่ไหม จะใช่หรือไม่ใช่ก็ตาม ท่านรู้จักป้อมวิเชียรโชฎกไหมที่อยู่ใกล้ๆ กับศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนั่นแหละ เมื่อใดที่ท่านเข้าไปกราบคารวะเจ้าพ่อหลักเมืองที่ศาลเดิม และหลักเมืองที่ศาลหลักเมืองใหม่ที่อยู่ถัดไป ไม่ไกลจากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเท่าใดนักเมื่อมองไปจะเห็นกำแพงและป้อมโบราณที่ทาสีขาวเอาไว้ นั่นแหละเป็นป้อมปราการสำคัญแต่โบราญ ป้อมวิเชียรโชฎกนี้ จากการค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ โดยเฉพาะหนังสือที่หลวงวิจิตรการ เขียนไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์สากล เล่ม ๓ ว่า เดิมป้อมนี้นั้นคงจะเป็นป้อมที่สร้างขึ้นไว้กำบังข้าศึกบริเวณปากอ่าวแม่น้ำท่าจีน ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์แห่งกรุงศรีอยุธยา ที่ยกฐานะบ้านท่าจีนขึ้นเป็นเมืองสาครบุรี เพื่อใช้ระดมพลแถบหัวเมืองชายทะเล (พ.ศ.๒๐๙๙) และในหนังสือชื่อเดียวกันเล่มที่ ๗ ยังกล่าวถึงการเดินทางของมองซิเออร์ เซเบเรต์ เอกอัคราชทูตฝรั่งเศสตอนเดินทางผ่านบ้านท่าจีน เมื่อ ๑๗-๑๘ ธันวาคม ๒๒๓๐ ว่า "ที่เมืองนี้มีป้อมเล็กๆอยู่ป้อมหนึ่ง ก่อด้วยอิฐและกำแพงนั้นสูงราว ๑๐ ฟุต แต่หามีคูหรือประตูไม่มีแต่ห่อรบและมีปืนทองเหลืองขนาดเล็ก แสดงให้เห็นว่าเมืองสาครบุรีนั้นแม้จะเป็นเมืองเล็ก แต่ก็เป็นเมืองท่าสำคัญในการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ จนถึงกับมีป้อมปืนคอยระวังคุ้มภัย และเป็นเมืองหน้าด่าน ป้องกันศัตรูทางทะเล และป้อมนี้ได้รับการบูรณะซ่อมแซมใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งโปรดเกล้าฯให้พระยาโชฎกราชเศรษฐี ได้จัดสร้างขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯให้ชื่อว่า "ป้อมวิเชียรโชฎกดังที่เราเห็นอยู่ในขณะนี้ เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น สมัยหนึ่งในบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอเมืองฯเรือนจำ และสำนักงานที่ดินจังหวัดที่ยังอยู่จนถึงบัดนี้ และน่าจะได้รับการซ่อมแซมและอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง จะได้เหมือนกับกับกำแพงที่ติดกับป้อมนี้ที่อนุรักษ์ไว้เหมือนกับป้อม ที่กรมศิลปกรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ที่น่าสนใจก็คือกำแพงป้อมก่อด้วยปูน กว้างประมาณศอกเศษ สูงประมาณ ๖ ศอก ไม่มีป้อมยามมีแต่หอรบ มีปืนบรรจุตามช่องเป็นปืนโบราณ แต่ละช่องกว้างประมาณ ๕ เมตร ปืนที่บรรจุอยู่ที่ตามช่องหล่อด้วยเหล็กทั้งท่อน ที่กระบอกมือแต่ละกระบอกมีสัญลักษณ์เป็นรูปมงกุฎราชวงษ์อังกฤษ มีอังษร GRอยู่ใต้มงกุฎนั้น และสลักคำว่า BACONไว้ทุกกระบอก ปัจจุบันนี้ทางเทศบาลนครสมุทรสาคร ได้นำไปตั้งไว้หน้าที่ทำการ ๒ กระบอก และอยู่หน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง นอกจากนี้ยังอยู่ตามช่องกำแพงอีกส่วนหนึ่งท่านไปดูมาแล้วหรือยัง
ในปัจจุบันนี้ ผู้คนต้องทำงานหนัก ทำให้เกิดภาวะเครียด ขณะที่บางคนรับประทานอาหารแต่ละมื้อไม่ครบ 5 หมู่ ประกอบกับมลพิษที่อยู่ในอากาศ เกิดอนุมูลอิสระขึ้นในร่างกายส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต ดังนั้น วิตามินและอาหารเสริมจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิต โดยเฉพาะโอเมก้า 3 ที่มีอยู่ในน้ำมันปลา ที่หลายๆคนรู้จัก เนื่องจากโอเมก้า 3 เป็นไขมันประเภทไม่อิ่มตัว มีประโยชน์ในเรื่องลดอัตราการตายจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดตีบ และยังลดคอเลสเตอรอลไตรกลีเซอไรด์ ตลอดถึงยังลดความเหนืดของเลือด ลดการอักเสบ รวมทั้งสร้างความสมดุลและปรับระดับเลือดในร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติได้ ทั้งนี้ ปัญหาก็คือสารอาหารเหล่านี้มีอยู่ในปลาทะเลน้ำลึกซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในเขตหนาว อย่างปลาแซลมอน และปลาเม็คเคเรล ทำให้ราคาของปลาเหล่านี้เมื่อนำมาจำหน่ายในเมืองไทยมีราคาค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ย่อมมีทางแก้ไข โดยให้คนไทยหันมารับประทานปลาทูทดแทน เพราะในปลาทูจะมีโอเมก้า 3 ค่อนข้างมาก ที่สำคัญราคาไม่แพง และซื้อมารับประทานได้ง่าย โดยในเนื้อปลาทู 100 กรัม มีสารโอเมก้า 3 ประมาณ 2-3 กรัม ซึ่งในปกติในหนึ่งวันร่างกายต้องการโอเมก้า 3 ประมาณวันละ 3 กรัมต่อวัน สรุปง่ายๆ ก็คือกินปลาทู วันละ 2 ตัว จะช่วยลดภาวะการเสื่อมสังขารก่อนวัยอันสมควรได้ก็เพราะปลาทูมีสารอาหารที่ช่วยต้านแอนตี้ออกซิแดนซ์หรืออนุมูลอิสระได้ ปลาทู เป็นปลาไทยแท้ เป็นปลาทะเลผิวน้ำ รูปร่างป้อมแบนมีถิ่นกำเนิดบริเวณอ่าวไทย ในเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคมจะพบปลาทูตัวเล็กขนาดปลาซิวอยู่ในจังหวัดชุมพร และในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ปลาทูจะค่อยๆโตขึ้นเรื่อยๆ (เรียกว่าปลาทูสาว) และจะโตเต็มที่เมื่อมาถึงอ่าวแม่กลองและอ่าวมหาชัย ปลาทูจะมีไข่เต็มท้อง ก็อยู่ในระหว่างเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ สำหรับใครชอบกินปลาทูที่มีไข่ก็ต้องกินระหว่างเดือนที่ว่านี้ ปลาทูนั้น จะมัน หวาน มีรสชาติอร่อย ท่าฉลอม เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองสมุทรสาครซึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสร็จประพาสตำบลท่าฉลอม และได้ทรงดำริให้จัดตั้งสุขาภิบาลขึ้น ซึ่งเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อ ปี พ.ศ. 2448 ปัจจุบัน อยู่ในเขตการปกครองของเทศบาลนครสมุทรสาคร ท่าฉลอมเป็นชุมชนชาวประมงขนาดใหญ่ หรือที่หลายคนเรียกหมู่บ้านชาวประมง ผู้คนส่วนมากจึงประกอบอาชีพประมงและทำประมงต่อเนื่องโดยมีตลาดร้านค้าขายอาหารทะเลและกิจการต่อเรือตั้งเรียงรายอยู่บนฝั่งริมแม่น้ำท่าจีนเป็นจำนวนมาก ในส่วนของปลาทูสมุทรสาคร ทำไมจึงต้อง "หน้าเริ่ด เชิดหยิ่ง รูปร่างลักษณะของปลาทูนั้นคนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี หลายคนบอก ปลาทูหน้างอคอหักอยู่ที่แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม (เพราะมันงอตัวอยู่ในเข่งตลอดเวลา) แต่บางคนบอกปลาทูสมุทรสาคร ต้องหน้าเริ่ด เชิดหยิ่ง เพราะมันเป็นปลาทูที่มีรูปร่างทรนง และองอาจ ที่สำคัญปลาทูสมุทรสาครมีรสชาติอร่อย |
|||||||||||
|
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่เราจัดเก็บ เหตุผลในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้ใน นโยบายคุกกี้ และ คำแถลงว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล